"โพน" ชื่อเรียกเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวปักษ์ใต้ เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในอดีตใช้บอกเหตุร้ายเวลากลางคืนบ้างใช้สำหรับเรียกประชุมหมู่บ้าน เป็นสัญญาณเมื่อถึงเวลาฉันอาหารรวมทั้งใช้เป็นจังหวะในงานประเพณีลากพระ พัฒนาสู่ประเพณีการแข่งขันตีโพยด้วยในวันงานลากพระวัดในละแวกเดียวกันต่างจัดงานกันยิ่งใหญ่ เสียงโพนจึงดังกึกก้องจนไม่สามารถแยกได้ว่าเสียงนั้นดังมาจากวัดไหนนำสู่การแข่งขันประชันเสียงโพน โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปีประเพณีแข่งขันตีโพนจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิบจนถึงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด จัดควบคู่ไปกับประเพณีลากพระในวันออกพรรษาก่อนถึงวันแข่งขัน เหล่านักตีโพนต่างขะมักเขม้นกับการประดิษฐ์เพื่อให้ได้โพนที่เสียงดีที่สุดเลือกเอาไม้เนื้อแข็ง ตาลโตนด จำปาป่า ขนุนป่า แกะเป็นรูกลมกลวงคล้ายอกไก่ใช้หนังควายแก่ซึ้งเป็นที่นิยมด้วยความเหนียวทนทานเป็นหนังหุ้ม โพนของพัทลุงจึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยความพิถีพิถันในการประดิษฐ์
ตีโพนแบ่งการแข่งขันออกเป็นสองลักษณะคือ การแข่งขันมือ (ตีทน) ใครตีทน ตีนานกว่าเป็นผู้ชนะ อีกประเภทคือการแข่งขัน “จันเสียง” ซึ่งจะได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน บรรยากาศวันงานแข่งโพนในจังหวัดพัทลุงจะเต็มไปด้วยความครึกครื้น สนุกสนานเหล่านักตีโพนต่างแสดงพละกำลัง ลูกเล่น ไหวพริบต่างๆ ส่งเสียงทุ้มแหลมของโพนดังกังวานทั่วบริเวณ และแม้จะเป็นการแข่งขันแต่ผู้ลงชิงชัยต่างมีแต่รอยยิ้ม ความสุขจากการได้ร่วมงานประเพณีที่เป็นเสมือนส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในท้องถิ่นบ้านเกิดของตนเองสะท้อนภูมิปัญญาการอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง เกิดความรัก ความสามัคคี ด้วยวิถีอันเรียบง่ายที่คงเสน่ห์ยาวนานถึงวันออกพรรษา ทำบุญตักบาตรเสร็จแล้วอย่าลืมแวะมาฟังเสียงโพนเมืองลุง “จะแลแข่งโพนให้หรอยและหนุกต้องแข่งโพนเมืองลุง” โพนดี โพนดัง ต้องโพนเมืองลุง
วันเวลาการจัดงาน : ปลายเดือน 10 จนถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประมาณช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม นิยมแข่งขันกันในช่วงกลางคืนตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป
สถานที่จัดงาน : บริเวณเทศบาลเมืองพัทลุง
สถานที่จัดงาน : บริเวณเทศบาลเมืองพัทลุง
อ้างอิง http://xn--k3cikmwc5gwb5fxbya.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น